x

           สืบเนื่องจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีนโยบายให้แยกแผนกวิชาครุศาสตร์ออกจากคณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์ได้มีวิชา อุปกรณ์การสอนในหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต 2ปี จนกระทั่งปีพ.ศ.2500แผนกวิชาครุศาสตร์ได้รับการยกฐานะ ขึ้นเป็น คณะครุศาสตร์ จึงได้มีการเพิมหลักสูตรครุศาสตร์บัณฑิต 4 ปีขึ้น หลักสูตรนี้ได้มีการปรับปรุงรายวิชาต่างๆ ให้มีมาตรฐานดียิ่งขึ้น วิชาอุปกรณ์การสอนจึงเปลี่ยนเป็นวิชาโสตทัศนศึกษา ตามหลักสูตรและเนื้อหาแนวใหม่ กล่าวได้ว่าวิชาการด้านโสตทัศนศึกษา ของประเทศไทยได้เริ่มมี การปฏิรูปให้ทันสมัยและก้าวหน้าเป็นลำดับตั้งแต่ ปี พ.ศ.2500 เป็นต้นมา

           ปีพ.ศ.2500-2506 วิชาการด้านโสตทัศนศึกษาสำหรับนิสิตเริ่มรับนิสิตหลักสูตร 4ปี สังกัดหน่วยวิชาโสตทัศนศึกษา และ ปีพ.ศ. 2506 หน่วยวิชาโสตทัศนศึกษาเริ่มรับนิสิตบัณฑิตวิทยาลัย หลักสูตรวิชา โสตทัศนศึกษาเข้าศึกษาเป็นรุ่นแรก ต่อมาปีพ.ศ.2507หน่วยวิชาโสตทัศนศึกษาได้รับการอนุมัติให้ยกฐานะขึ้นเป็นแผนกวิชาโสตทัศนศึกษา โดยมีศาสตราจารย์สำเภา วรางกูร ผู้ริเริ่มงานด้านโสตทัศนศึกษามาตั้งแต่ครั้งดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกวิชาโสตทัศนศึกษา และภายหลังก็ได้มีการเปลี่ยนแผนกวิชาเป็น ภาควิชาโสตทัศนศึกษา

           จนกระทั่งปี พ.ศ. 2547 ตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2547 ได้กำหนดให้คณะครุศาสตร์มี 4 ภาควิชา ดังนี้

  1. ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา
  2. ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา
  3. ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา
  4. ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา

           ซึ่งภาควิชาโสตทัศนศึกษาจึงได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และเข้ารวมเป็นส่วนหนึ่งของภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา

            วันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2501 คณะครุศาสตร์ได้จัดตั้งโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขึ้นเพื่อเป็นแหล่งปฏิบัติการวิจัยในการทดลองสอนของนิสิตคณะครุศาสตร์ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ตอมาในปี พ.ศ. 2522 “แผนกวิชา? ได้เปลี่ยนเป็น”ภาควิชา? ตามพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประกอบด้วย 11 ภาควิชา 1 สาขาวิชา และศูนย์ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้

  1.  ภาควิชาสารัตถศึกษา
  2.  ภาควิชาวิจัยการศึกษา
  3.  ภาควิชาประถมศึกษา
  4.  ภาควิชามัธยมศึกษา
  5.  ภาควิชาบริหารศึกษา
  6.  ภาควิชาพลศึกษา
  7.  ภาควิชาโสตทัศนศึกษา
  8.  ภาควิชาศิลปศึกษา
  9.  ภาควิชาอุดมศึกษา
  10.  ภาควิชาดนตรีศึกษา
  11.  ภาควิชาการศึกษานอกโรงเรียน
  12.  สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน

ศูนย์ต่าง ๆ 6 ศูนย์ ดังนี้

  1.  ศูนย์ตำราและเอกสารทางวิชาการ
  2.  ศูนย์เทคโนโลยีการศึกษา
  3.  ศูนย์บรรณสารสนเทศทางการศึกษา
  4.  ศูนย์ทดสอบทางการศึกษา
  5.  ศูนย์ประสบการณ์วิชาชีพ
  6.  โครงการสอนภาษาไทยและวัฒนธรรมไทยในต่างประเทศ

            วันที่ 10 กรกฎาคม 2547 มีประกาศกระทรวงศึกษาธิการ แจ้งเรื่อง ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง “การแบ่งส่วนราชการในคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2547” ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีได้ประกาศเรื่องดังกล่าวในราชกิจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่มที่ 121ตอนที่ 71 ลงวันที่ 2 กันยายน 2547 ให้แบ่งส่วนราชการของคณะครุศาสตร์ เป็น 4 ภาควิชา ดังนี้

  1.  สำนักงานเลขานุการ
  2.  ภาควิชาหลักสูตร การสอนและเทคโนโลยีการศึกษา
  3.  ภาควิชาศิลปะ ดนตรีและนาฏศิลป์ศึกษา
  4.  ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา
  5.  ภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา